วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เรื่อง หัวใจที่เปี่ยมด้วยความหวัง

                ในภาวะวิกฤตมหาอุทกภัย ซึ่่งคนไทยทุกคนได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมในครั้งนี้ชาวมัธยมขอเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นกำลังใจให้ก้าวสู้ต่อไป อดทนต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรค กับภัยพิบัติ ขอให้ผู้ปกครองและนักเรียนที่ประสบอุทกภัยคลายความทุกข์และมีความสุขกลับมายังครอบครัวฟ้าหลังฝนย่อมงดงามและสวยกว่าเสมอ ขอฝากบทความของ ดอกเตอร์เกลน คันนิงแฮม ไว้ให้เป็นพลังในการต่อสู้เพื่อคนที่เรารักด้วยความหวังต่อไป
ทุกอย่างเป็นไปได้   ทุกอย่างเริ่มต้นที่ศูนย์
ทุกๆการเริ่มต้นใหม่  หมายถึงความหวังใหม่ที่เริ่มขึ้นแล้ว
               เมื่อคนหนึ่งไม่รู้สึกเกรงกลัวต่อความตาย และโรคร้ายซึ้งอยู่เบื้องหน้าและยังสามารถเอาชนะความทุกข์ทรมานได้ เขาคือผู้แข็งแกร่ง ในโลกนี้เต็มไปด้วย เกิด แก่ เจ็บ ตาย สุขทุกข์ พบพาน พลัดพราก ดีใจ เสียใจ... ชีวิตคนนั้นหลีกเลียงความไม่สมหวังไม่พ้นหลีกเลียงความไม่ราบรื่นไม่พ้น มันคือสิ่งที่ทุกคนต้องพบเจอ แต่ไม่ว่าเมื่อใดก็ตามขออย่าได้สิ้นหวัง อย่าได้ท้อแท้ เพราะชีวิตเรามีพลังมหาศาลแอบซ่อนอยู่ขอแค่มีหัวใจที่เปี่ยมด้วยความหวังอย่างเสมอต้นเสมอปลายก็จะเอาชนะวิกฤตทั้งหลายได้
              หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านผู้ปกครองและนักเรียนที่ได้อ่านบทความและจะมีพลังและพร้อมสำหรับการเปิดภาคเรียน 2/2554 ขอเป็นกำลังใจให้ตลอดไปนะค่ะ

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554


การใช้ Flash Drive หรือ Handy Drive กับ iPad

Flash Drive on iPad
iFile เป็นโปรแกรมบริหารจัดการไฟล์ที่ทำให้เราเข้าถึงโครงสร้างระบบไฟล์ใน iPad (ต้องติดตั้งผ่าน Cydia ราคา 4 $) นอกจากนั้นยังสามารถจัดการไฟล์ที่อยู่ใน Flash Drive เพื่อเปิดไฟล์และสั่งบันทึกไฟล์เข้ามาเก็บไว้ใน iPad ได้
สำหรับสมาชิกผู้ใช้ iPad และต้องการใช้ Flash Drive ต่อเข้ากับ iPad เพื่อเปิดงานหรือ save งานเข้า iPad ควรเตรียมอุปกรณ์ดังนี้:
(1) ทำ jailbreak เครื่อง iPad
(2) ติดตั้ง App. iFlie (ต้องซื้อผ่าน Cydia)
(3) เตรียมอุปกรณ์ชุด Camera Connection Kit ให้เลือกใช้ชุดอุปกรณ์ที่สำหรับเสียบ Flash Drive
(4) เตรียม Flash Drive ขนาด 2-4 GB (หากมากกว่านั้น Power จะไม่เพียงพอ) พร้อมข้อมูลเช่น ภาพ ไฟล์งานต่างๆ
เมื่อเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ เสร็จแล้วทำดังนี้
(1) เสียบ Flash Drive เข้ากับอุปกรณ์ Camera Connection Kit
(2) นำไปเสียบเข้ากับเครื่อง iPad
(3) ที่หน้าจอ iPad ให้กดไปที่ app. iFile เพื่อทำการเปิดไฟล์ต่างๆ ที่มีอยู่ทั้งในเครื่อง iPad เอง และไฟล์จาก Flash Drive
(4) ในกรอบด้านขวามือ ให้เลือกหา Folder ชื่อ Var >> mnt >> mount1
(5) เลือกโฟลเดอร์ หรือ ไฟล์ที่ต้องการเปิดจาก Flash Drive เช่น การเปิดภาพอาจเลือกเปิดด้วย Image Viewer, เปิดไฟล์ PDF เลือกเปิดกับ QuickOffice เป็นต้น
(6) หากต้องการ save ภาพเก็บไว้ในเครื่อง iPad ให้เลือกที่เครื่องมือ save (เป็นรูปโฟลเดอร์มีหัวลูกศรชี้ลง) สำหรับการบันทึกไฟล์อื่นๆ จาก Flash Drive ลง iPad นั้นก็จะมีคำสั่งบันทึกที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของไฟล์  ลองทดสอบดูครับ ไม่ยากครับ…
Australia
ตัวอย่างการเปิดไฟล์ภาพจาก Flash Drive
ที่มา http://www.ipad-thailand.com/%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89-flash-drive-%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-camera-connetion-kit-%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การทำก้อน EM บำบัดน้ำเสีย

การทำก้อน EM บำบัดน้ำเสีย

          ศูนย์เรียนรู้กรมทหารราบที่ 15 โดยมี พ.อ.จำรัส สังขะวร ตำแหน่ง รอง ผบ.กรม.ทหารราบที่ 15 ค่ายวชิราวุธ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช มาเป็นหัวหน้าประจำศูนย์เรียนรู้เรียนรู้ของกองทัพและพลโท พิเชษฐ์ วิสัยจร แม่ทัพภาค 4 ได้เล็งเห็นความสำคัญในภาคการเกษตรจึงได้มีการจัด จนท.ศูนย์คือทหารที่รับราชการอยู่นั้นเอง และภายในศูนย์นั้นก็มีการทำการเกษตรหลายอย่างอาทิเช่น การเลี้ยงไก่ ปลูกผัก ทำปุ๋ย ปลูกข้าว ฯลฯ และปัจจุบันก็มี นักเรียน นักศึกษาเข้ามาอบรม ประมาณ 55 รุ่นแล้วและจากเจตนารมณ์ที่ได้ทำศูนย์เรียนรู้นี้ขึ้นเนื่องจากได้หลักการตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงตรัสว่า( ความจริงเคยพูดอยู่เสมอในที่ประชุมอย่างนี้ว่าการจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ทีเราพออยู่พอกินและมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ให้มีพอเพียงกับตัวเอง ) และจากคำตรัสนี้ทางกองทัพภาค 4 จึงได้มีการดำเนินการในภาคการเกษตรเพื่อที่จะนำประโยชน์จากคำตรัสนี้มาใช้ในชีวิตประจำวันและนำมาเผยแพร่ความรู้และให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรที่มีความเดือดร้อนในภาคการเกษตรนั้นเอง



การทำ em บอล บำบัดน้ำเสีย
          จากการลงพื้นที่ไปเยี่ยมชมศูนย์ฯนั้น ก็มีวิธีการทำ em บอลที่สามารถนำมาใช้บำบัดน้ำเสียได้และสามารถใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นๆอีกมากมายซึ่งทาง จ.ส.อ.เสงี่ยม ทองแก้ว จนท.ประจำศูนย์ก็ได้ให้รายละเอียดในการทำ em บอล มีขั้นตอนการทำดังนี้
วัสดุที่ใช้
1.ปุ๋ยหมักโบกาชิ 10ส่วน*
2.รำละเอียด 1ส่วน
3.ทรายละเอียด 1ส่วน
4.ดินโคลน 1ส่วน
5.em สูตรขยาย (ราดพอชุ่ม)*
วิธีการผสม
1.นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน
2.ปั้นเป็นก้อนๆเท่าลูกเปตอง
3.แล้วนำมาผึ่งลมไว้ 3-4วันแล้วนำไปใช้งานได้
สัดส่วนที่ใช้
1.บำบัดน้ำเสีย em บอล1ลูก/พื้นที่น้ำ 10ลบ.ซม.

*วัสดุสำหรับการผลิตปุ๋ยสูตรปุ๋ย (โบกาชิ)
*การทำปุ๋ยโบกาฉิ
วัสดุอุปกรณ์
1. มูลสัตว์แห้งทุบให้ละเอียด จำนวน 1ส่วน
2. แกลบ 1ส่วน
3. รำละเอียด ½ ส่วน
4. หัวเชื้อจุลินทรีย์ E.M. ที่ขยายแล้ว 20ซีซี
5. กากน้ำตาล 20ซีซี
6. น้ำสะอาด 10ลิตร
** วิธีทำ**
1. นำมูลสัตว์ แกลบ รำละเอียด ผสมในถัง
2. นำหัวเชื้อจุลินทรีย์ กากน้ำตาล ละลายในน้ำ ใส่ลงไปในถัง ผสมให้ได้ความชื้น 50%
3. หมักไว้ 7วัน คอยกลับกองทุก ๆ วัน ๆ ละครั้ง เพื่อช่วยลดความร้อน
ประโยชน์ของ em บอล
1.ช่วยบำบัดน้ำเสีย
2เป็นอาหารปลาในน้ำเพราะemบอลจะทำให้เกิดแพลงตอนในน้ำ

ผลงานนักเรียน เรื่อง ระบบนิเวศ

       ผลงานของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในการเรียนการสอนซึ่่งนักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการทดลอง และการนำเสนอเป็นรายกลุ่มเพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่คิดเป็น แก้ปัญหาเป็นเรียนรู้ระบบนิเวศ และถ่ายทอดมาเป็นผลงานที่น่าภาคภูมิใจ




กิจกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบไหลเวียนโลหิต

          กิจกรรมการส่งเสริมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในระดับ G.8 ได้เรียนรู้ระบบไหลเวียนโลหิต โดยนักเรียนทำการทดลองการวัดชีพจรในคณะพักและหลังทำกิจกรรมในเวลา 1 นาที เพื่อเปรียบเทียบอัตราการเต้นของหัวใจ นักรียนได้เรียนรู้และปฏิบัติจริง ทำการบันทึกผลการทดลอง ในขณะที่วิ่งไปกลับ 10 เมตรนักเรียนได้ทำการทดลองและสรุปผลการทดลองพร้อมนำเสนอผลงาน




ผลการทดลองการวัดชีพจร


ผลงานนักเรียน เรื่อง ส่วนประกอบของดอก ม.1/1

        นักเรียนนำเสนอผลงานส่วนประกอบของดอกเพราะดอกมีหน้าที่ในการสืบพันธุ์๋และนำเสนอแผนภาพแสดงการสืบพันธุ์ของพืชดอก




การทดสอบคำยาก

Spelling Test

Vocabulary Revision




การทดสอบ Q.C

Quality Control Tests
Q.C. Study Questions
Q.C Actual Questions
Outcomes
Q.C. Galleries
QC For NT Schedule Academic Year 2011